วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


นวัตกรรมการเรียนการสอน
                   ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ   และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์   จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง

ความหมาย
             คำจำกัดความของคำว่า   “นวัตกรรมทางการศึกษา”   จึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่  หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม    โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   และถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย

ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ 
 - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAl) มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module) - วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video) และดิฉันก็เชื่อว่าสถานที่การศึกษาหลายๆ ที่นั้นได้นำนวัตกรรมที่ว่านี้มาใช้กันแล้ว อย่างเช่นที่โดรงเรียนที่ดิฉันสอนอยู่ก็ได้นำ   มัลติมีเดีย (Multimedia) มาใช้ในการสอนบางวิชา ซึ่งทำให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นและสนุกสนานกับการเรียน ทำให้เขาได้เรียนรู้มีความสุขโยไม่ต้องบังคับและจ้ำจี้จ้ำชัยเหมือนเดิม

                นวัตกรรมการเรียนการสอน ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เกิดประสิทธิผล ในบั้นปลายนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ครู อาจารย์ จะต้องพยายามค้นคว้าวิธีการใหม่ ๆ ที่ครู อาจารย์คิดค้นขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ นั้น คือ นวัตกรรมทางการศึกษานั้นเอง ความหมาย คำจำกัดความของคำว่านวัตกรรมทางการศึกษาจึงหมายถึงสิ่งประดิษฐ์หรือ วิธีการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลองหรือพัฒนาจนเป็นที่ น่าเชื่อถือได้ว่าจะมีผลดีในทางปฏิบัติสามารถนำไปใช้ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ถ้าส่งผลงานในลักษณะนี้ต้องมีเอกสารประกอบด้วย ความสำคัญ ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา ก็คือ สามารถนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในวงการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
               
                1. เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
 1.1 ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือ ครูส่วนใหญ่ยังคง ยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้น ความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
 1.2 ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็น นามธรรมยากแก่การเข้าใจ จึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
1.3 ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอน บางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอน และผลิตสื่อการสอนใหม่ ๆ เพื่อ นำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
                 2. เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ ๆ ใน การเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู อาจารย์ท่านอื่น ๆ หรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครูอาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกัน ได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อ การสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมการและวางแผนในการจัดทำผลงาน จะต้องมีการ 1.1 กำหนดรูปแบบของผลงาน
                1.2 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา 1.3 กำหนดเป้าหมายและขอบข่ายของเนื้อหาวิชา 2. ขั้นตอนการจัดทำผลงาน 2.1 นำหลักสูตร เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ในวิชานั้นเป็นหลักใน การจัด               2.2 กำหนดโครงสร้างของผลงาน (ใช้ในภาคเรียนใดและแต่ละเรื่องจะ จัดทำสื่อเป็นจำนวนเท่าใดบ้าง)
3. ขั้นทดลองนำผลงานไปใช้ เช่น
                3.1 ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
                 3.2 ควรมีการวิจัยสื่อที่จะนำไปทดลองใช้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่ ผลิตขึ้นว่าสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ในด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนการสอนเพียงใด            3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้น ควรจัดทำให้สามารถวัดผลได้อย่าง ชัดเจน
4. ขั้นนำผลงานไปใช้ – ควรอธิบายกรรมวิธีในการนำไปใช้ได้อย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน
 5. ผลของการนำไปใช้ - อธิบายให้เห็นว่าสิ่งประดิษฐ์นั้น สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือ นำไปเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างไรบ้าง
 6. ขั้นการเผยแพร่และสร้างการยอมรับ - เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าสื่อนวัตกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้น มีประโยชน์ อย่างแท้จริงต่อการเรียนการสอน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการยอมรับในวงการศึกษา